เราทุกคนต่างรู้ดีว่าหน้าตาของฮีโร่เป็นอย่างไร จากข่าวมากมายเราจะเห็นว่านักผจญเพลิงต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เรียกว่าแย่ยิ่งกว่าฝันร้าย วันนี้เราจะพามาดูชุดป้องกันที่จะช่วยให้พวกเขาฝ่าฟันอันตรายได้อย่างปลอดภัย ชุดของนักดับเพลิงมีอะไรมากกว่าผ้าสีดำหรือสีกากีกับแถบสะท้อนแสงที่เราเห็น ในบทความนี้ เราจะอธิบายหน้าที่ของผ้าแต่ละชั้นให้ฟัง
- ผ้าชั้นนอก (Outer Shell)
ด้วยความที่เป็นผ้าชั้นนอก องค์ประกอบต่าง ๆ ของเนื้อผ้าจะต้องทนทานที่สุด เพราะหน้าที่หลัก ๆ ของผ้าชั้นนี้คือ
- ป้องกันความร้อนและเปลวไฟ
- ป้องกันสารเคมีภายนอกและน้ำ
- ป้องกันการเสียดสี ของมีคม และการฉีกขาด
ความทนทานและประสิทธิภาพของผ้าชั้นนอกจะต้องพิจารณาอย่างดีทั้งในเรื่องขององค์ประกอบ (การผสมผสานของเส้นใย) รวมถึงโครงสร้างและน้ำหนักของผ้า แนวโน้มที่ควรจะเป็นมากที่สุดจากที่เราเห็นในปี 2020 คือผ้าจะต้องเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อลดภาวะความเครียดที่เกิดจากการสะสมความร้อนและความรู้สึกไม่สบายตัว โดยที่ผ้ายังคงป้องกันความร้อนและปกป้องนักผจญเพลิง
- ผ้าชั้นกันน้ำและความชื้นต่าง ๆ (Moisture Barrier)
ผ้าชั้นนี้เป็นชั้นกลางของชุดดับเพลิง หน้าที่หลักคือป้องกันการซึมผ่านของน้ำ สารเคมี และเชื้อก่อโรคที่แพร่กระจายทางเลือดได้ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการระบายอากาศและเป็นเสมือนฉนวนของชุดทั้งชุด ดังนั้นจะต้องให้ความสบายโดยรวมและปกป้องผู้ที่สวมใส่ ผ้าชั้นนี้จะประกอบด้วยฟิล์มกันน้ำที่ระบายอากาศได้ ซึ่งการวางผ้าในชุดของชั้นนี้ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพโดยรวมดังนี้
- ผ้าด้านที่ติดกับผ้าชั้นนอกจะเป็นฉนวนและป้องกันความร้อนได้ดีขึ้น
- ผ้าด้านที่หันเข้าหาร่างกาย มีหน้าที่ระบายอากาศและทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายตัวมากขึ้น
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือคุณภาพของการเย็บตะเข็บตลอดแนวของผ้าชั้นกันน้ำนี้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของชุด จุดอ่อนที่สุดของโครงสร้างชุดดับเพลิงคือบริเวณรอบ ๆ ตะเข็บ เราขอแนะนำให้ตรวจสอบตะเข็บที่เย็บเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าความสมบูรณ์ในโครงสร้างของชุดไม่มีอะไรเสียหาย
- ผ้าชั้นระบายความร้อน (Thermal Liner)
ด้วยความที่เป็นชั้นในสุด ผ้าชั้นนี้จึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องของประสิทธิภาพโดยรวม คุณสมบัติหลัก ๆ ก็คือ
- เป็นฉนวนกันความร้อนด้วยการสร้างเบาะลมและช่องระบายอากาศขนาดเล็กเพื่อให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายตัวและลดภาวะความเครียดที่เกิดจากความร้อนสะสม
- ระบายความชื้นที่เกิดจากเหงื่อ ออกจากร่างกายเพื่อเพิ่มความสบายให้แก่ผู้สวมใส่
- สวมใส่สะดวกและถอดง่าย ซับในที่เรียบลื่นทำให้ความรู้สึกสบายตัวเมื่อสวมใส่ เนื่องจากผู้สวมใส่ไม่ควรต้องมาลำบากกับผ้าชั้นในเวลาจะสวมใส่หรือเคลื่อนไหวในชุดดับเพลิงนี้
- ปกป้องผ้าชั้นกันน้ำ จากความเสียหายใดก็ตามที่มาจากด้านในของเสื้อผ้า
เนื้อผ้าแต่ละชั้นที่ช่วยปกป้องและให้ความสบายตัว
เป็นไปได้ไหมที่จะสร้างชุดผจญเพลิงที่มีผ้าน้อยชั้นกว่านี้ ? ตอบตามตรงว่า “ไม่ได้” เพราะทั้ง 3 ชั้นมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพโดยรวมของชุด สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือผ้าชั้นนอกจะต้องทนทานต่อสารเคมี ความร้อน และอันตรายทางกายภาพต่าง ๆ ส่วนผ้าชั้นกันน้ำจะต้องป้องกันน้ำ สารเคมี และเชื้อก่อโรคที่แพร่กระจายทางเลือดได้ และผ้าชั้นในสุดจะต้องปกป้องผ้าชั้นกันน้ำจากความเสียหายพร้อมทั้งระบายเหงื่อและเนื้อผ้าต้องให้ความรู้สึกที่สบายตัวที่สุด อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของชุดอาจมีมากกว่า 3 ชั้น เนื่องจากผ้าชั้นกันน้ำหรือผ้าชั้นระบายความร้อนและฉนวนป้องกันอาจแยกออกเป็นอีกชั้น ผู้ผลิตมักจะคิดค้นวิธีแก้ปัญหาที่เป็นนวัตกรรมของตนเองเพื่อทำให้องค์ประกอบของชุดดีกว่าเดิมด้วยการเพิ่มส่วนประกอบที่เป็นฉนวน ช่องอากาศ หรือโครงสร้างที่เพิ่มมากขึ้น (เช่น ในผ้าชั้นกันน้ำ ในผ้าชั้นระบายความร้อน หรือแม้แต่ใช้ผ้าสองชั้นที่ผ้าชั้นนอก)
TenCate Protective Fabrics เราเข้าใจดีถึงผลกระทบที่ผ้าแต่ละชั้นมีต่อการทำงานและความสะดวกสบายของชุดดับเพลิง เพราะเราดูแลผู้ที่ปกป้องทุกคน เรามั่นใจว่าทำสุดความสามารถเพื่อให้เกิดผลดีต่อชีวิตของพวกเขา เราจึงไม่เคยหยุดคิดค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภารกิจในทุก ๆ วันของนักผจญเพลิง — เราสร้างผ้าที่เป็นนวัตกรรมมีน้ำหนักเบา ทนต่อการเสียดสี และปกป้องผู้สวมใส่เป็นอย่างดี ในขณะที่เนื้อผ้ายังคงดูดีตลอดอายุการใช้งาน
หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับชุดป้องกันสำหรับนักผจญเพลิง ไม่ว่าจะเป็นทิศทางในการพัฒนาชุด หรือกระบวนการคัดเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ โปรดติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ apac-support@tencatefabrics.com หรือโทร 081-3738299